วันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

การอ่านโน้ตดนตรี ตัวเขบ็จ และเครื่องหมายหยุด



     จากบทความที่แล้วผมได้มาแบ่งปันเรื่องการอ่านบันทัด 5 เส้น การอ่านเสียง โด เร มี ฟา ซอล ลา ที บนบันทัด 5 เส้น และความยาวของเสียงของ โน้ตตัวดำ โน้ตตัวขาว โน้ตตัวกลม โดยการนับจังหว่ะ 1,2,3,4 โดยผู้ฝึกฝนอาจจะนับด้วยปากไปด้วยและใช้เท้าตบพื้นไปด้วยก็ได้ โดยอย่าลืมว่า 1 ห้อง มี 4 จังหว่ะ ให้จำแบบนี้ไปก่อน เพราะจริงๆแล้วอาจจะแบ่งจังหว่ะในเพลงนั้นๆไม่เหมือนกัน โดยเราอาจจะเคยเห็นตัวเลขคล้ายๆ เศษส่วนอยู่หน้าห้องโน้ตดนตรีติดกับ สัญลักษณ์กุญแจซอล ซึ่งเรียกว่า เครื่องหมายกำหนดจังหว่ะ หรือ time signature ตามารูปนี้

วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2561

iRig Amplitube เอฟเฟ็คกีต้าร์ คืออะไร เจ๋งแค่ไหน มาดูกันหน่อย



     หลายคนอาจจะเล่นกีต้าร์มาสักระยะหนึ่งแล้ว หรือเพิ่งจะเริ่มหัด เริ่มเล่นกีต้าร์ ไม่ว่าจะเป็น กีต้าร์โปร่ง กีต้าร์โปร่งไฟฟ้า กีต้าร์ไฟฟ้า อาจจะเล่นตามเพลงที่เราชอบ อยากแกะเพลงตามศิลปินในดวงใจของเราให้เหมือนกันแบบเป๊ะๆ ซึ่งก็เล่นตามโน้ตเพลงหรือลูกโซโล่ได้ตามแบบเป๊ะๆ แต่ติดอยู่นิดเดียวคือ กีต้าร์ของเราไม่มีเอฟเฟ็คกีต้าร์แบบที่ศิลปินเขาเล่น เสียงที่ได้ก็เลยแตกต่าง

วันอังคารที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2561

วิธีการอ่านโน้ตดนตรี



     จากบทความก่อนหน้านี้ผมก็ได้มาแบ่งปันเรื่อง โน้ตในคอร์ด ต่างๆไปแล้วนะครับ ซึ่งก็ลองไปหาความรู้เพิ่มเติมได้อีกนะครับ เพราะนอกจากจำพวก คอร์ดเมเจอร์ และ คอร์ดไมเนอร์ ก็จะมีคอร์ดจำพวก ดอมิแนนท์ 7 th (Dominant 7th) อย่างเช่น C7 / D7 / E7 / G7 จะเห็นอยู่บ่อยๆในหนังสือเพลงที่เราซื้อมาเล่นตามเพลงต่างๆนั่นแหล่ะครับ บางคนอาจจะเข้าใจผิดว่าให้เพิ่มโน้ตตัวที่ 7 เข้าไปซึ่งอันนี้ไม่ใช่นะครับ แต่มันเป็นการเพิ่มตัวที่ 7 แต่ลดครึ่งเสียงหรือใส่ b ในโน้ตตัวที่ 7 นั่นเอง ซึ่งอันนี้ค่อยว่ากันทีหลัง หรือคอร์ดจำพวก คอร์ดดิมินิชด์ 7th (Diminished 7th) อย่างเช่น Adim7,C#dim7 อะไรประมาณนี้ หรืออาจจะเป็นจำพวก คอร์ด อ๊อกเม็นเต็ด 5th (Augmented 5th) อย่างเช่น Caug / Daug แต่มันจะเจอในรูปนี้มากกว่า C+, D+ เป็นต้น หรือ คอร์ด 9th อย่าง E9 / C9 / B9 อะไรประมาณนี้ ก็ให้ดูวิธีจับตามตารางคอร์ดไปก่อน เพราะจริงๆอย่างผมเองได้ฝึกเล่นด้วยตัวเองและศึกษาเองเป็นส่วนใหญ่ ถ้าใครชอบแนวป็อบ หรือร็อค ธรรมดา ก็ยังไม่ต้องเจาะลึกมากหรือสำหรับคนใหม่ๆก็เช่นกัน เอาพื้นฐานให้รู้และเข้าใจดี เวลาเรามาเพิ่มเติมทีหลังก็จะเข้าใจได้ง่ายขึ้น

วันจันทร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2561

รู้ตัวโน้ตในคอร์ดต่างๆ แล้วช่วยอะไร



     จากตอนที่แล้วผมก็ได้มาบอกกล่าว (อย่าเรียกว่าสอนเลย แค่มาแบ่งปันสิ่งที่รู้มาด้วยการศึกษาเอง) เรื่อง โน้ตในคอร์ดเมเจอร์ และ โน้ตในคอร์ดไมเนอร์ ว่ามีวิธีหาตัวโน้ตหลักในคอร์ดอย่างไหร และ มีวิธีหาตัวโน้ตในคอร์ดอย่างไร ถามว่า ต้องรู้ไหม ! ก็ตอบว่า ถ้าซื้อหนังสือเพลงมีตีคอร์ดแล้วร้องเพลงเล่นไปเรื่อยๆ ก็ไม่ต้องรู้ก็ได้เพราะก็ในหนังสือเพลงก็มีคอร์ดให้เล่น ตารางคอร์ดเพลงก็ซื้อมาแปะผนังห้องแล้ว รู้แล้วว่าคอร์ดนี้จับอย่างไรแค่นี้ก็พอ แต่ถ้าอยาก advance กว่านั้น คือ อยากโซโล่ในท่อนโซโล่เวลาเล่นกีต้าร์ 2 ตัวกับเพื่อน หรือ เบื่อคอร์ดเดิมๆที่เคยจับ เราอาจจะหาตำแหน่งการจับคอร์ดใหม่ๆให้เสียงแปลกไปจากเดิมก็สามารถทำได้

วันอาทิตย์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2561

โน้ตในคอร์ดไมเนอร์



     จากตอนที่แล้วเราได้มาทำความรู้จักกับ ตัวโน้ต ที่อยู่ในคอร์ดเมเจอร์ต่างๆไปแล้วนะครับ ซึ่ง ตัวโน้ต ในคอร์ดนั้นๆ จะประกอบไปด้วยโน้ตตัวที่ 1,3,5 อย่างเช่น

     คอร์ด C จะมีตัวโน้ต C,E,G
     คอร์ด D จะมีตัวโน้ต D,F#,A
     คอร์ด E จะมีตัวโน้ต E,G#,B

วันเสาร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2561

เจาะลึกเรื่องคอร์ดกีต้าร์



     จากตอนที่แล้ว เราได้มาเรียนรู้เรื่องโน้ตดนตรีกันมาเบื้องต้น แบบคร่าวๆ กันแล้ว โดยเบื้องต้นเราได้เรียนรู้เรื่องโน้ตดนตรีในการเล่น กีต้าร์โปร่ง กันก่อน เพราะมันสามารถเอาไปต่อยอดในการเล่นเครื่องดนตรีอย่างอื่นได้อีกเยอะแยะมากมาย เอาไว้เราค่อยมาเรียนรู้กันทีหลังนะแจ๊ะ
     จากบทความที่แล้ว เรียนรู้เรื่องโน้ตดนตรี  ผมได้ให้ผู้อ่านไปทำการบ้านมาแล้ว คงได้รู้จักตัวโน้ตบนคอกีต้าร์ทั้งหมดทุกช่องทุกตำแหน่งแล้วใช่ไหมครับ (อะไรนะ ไม่มีเวลาฝึกอีกแล้วเหรอครับ อย่าลืมนะครับ อยากสูงต้องเขย่ง อยากเก่งต้องขยันครับ) งั้นเอารูปไปดูเฉลยว่าเราหาโน้ตต่างๆบนคอกีต้าร์ได้ถูกต้องไหม

วันศุกร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2561

เรียนรู้เรื่องโน้ตดนตรี



     วันนี้มาต่อกันจากบทความที่แล้วว่าจะทำอย่างไรถึงจะเล่นดนตรีได้เก่ง (ต่อจากตอนที่ 3) แต่วันนี้เรามาขึ้นชื่อเรื่องใหม่ไปเลย เพราะเป็นเรื่องที่สำคัญมากในการเล่นดนตรี ก็คือ การเรียนรู้เรื่องโน้ตดนตรี  บางคนบอกว่า ไม่ต้องอ่านโน้ตดนตรีเป็นก็เล่นดนตรีเก่งได้ อันนี้ก็ถูกนะเพราะบางคนฝึกมากจริงๆแบบเอาเป็นเอาตาย แต่ถ้าเราอ่านโน้ตได้ก็จะก้าวไปอีกขั้นหนึ่งได้ง่ายด้วยเหมือนกัน เอาน่า ! มันก็เหมือนคนที่อ่านหนังสือออก กับอ่านหนังสือไม่ออกนั่นแหล่ะ คนอ่านหนังสือออก็มีโอกาสต่างๆมากกว่าคนอ่านหนังสือไม่ออกนั่นแหล่ะ

การอ่านโน้ตดนตรี ตัวเขบ็จ และเครื่องหมายหยุด

     จากบทความที่แล้วผมได้มาแบ่งปันเรื่องการอ่านบันทัด 5 เส้น การอ่านเสียง โด เร มี ฟา ซอล ลา ที บนบันทัด 5 เส้น และความยาวของ...