วันอังคารที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2561

วิธีการอ่านโน้ตดนตรี



     จากบทความก่อนหน้านี้ผมก็ได้มาแบ่งปันเรื่อง โน้ตในคอร์ด ต่างๆไปแล้วนะครับ ซึ่งก็ลองไปหาความรู้เพิ่มเติมได้อีกนะครับ เพราะนอกจากจำพวก คอร์ดเมเจอร์ และ คอร์ดไมเนอร์ ก็จะมีคอร์ดจำพวก ดอมิแนนท์ 7 th (Dominant 7th) อย่างเช่น C7 / D7 / E7 / G7 จะเห็นอยู่บ่อยๆในหนังสือเพลงที่เราซื้อมาเล่นตามเพลงต่างๆนั่นแหล่ะครับ บางคนอาจจะเข้าใจผิดว่าให้เพิ่มโน้ตตัวที่ 7 เข้าไปซึ่งอันนี้ไม่ใช่นะครับ แต่มันเป็นการเพิ่มตัวที่ 7 แต่ลดครึ่งเสียงหรือใส่ b ในโน้ตตัวที่ 7 นั่นเอง ซึ่งอันนี้ค่อยว่ากันทีหลัง หรือคอร์ดจำพวก คอร์ดดิมินิชด์ 7th (Diminished 7th) อย่างเช่น Adim7,C#dim7 อะไรประมาณนี้ หรืออาจจะเป็นจำพวก คอร์ด อ๊อกเม็นเต็ด 5th (Augmented 5th) อย่างเช่น Caug / Daug แต่มันจะเจอในรูปนี้มากกว่า C+, D+ เป็นต้น หรือ คอร์ด 9th อย่าง E9 / C9 / B9 อะไรประมาณนี้ ก็ให้ดูวิธีจับตามตารางคอร์ดไปก่อน เพราะจริงๆอย่างผมเองได้ฝึกเล่นด้วยตัวเองและศึกษาเองเป็นส่วนใหญ่ ถ้าใครชอบแนวป็อบ หรือร็อค ธรรมดา ก็ยังไม่ต้องเจาะลึกมากหรือสำหรับคนใหม่ๆก็เช่นกัน เอาพื้นฐานให้รู้และเข้าใจดี เวลาเรามาเพิ่มเติมทีหลังก็จะเข้าใจได้ง่ายขึ้น

     อย่างที่บอกว่าบทความนี้เราจะมาแบ่งปันเรื่องการอ่านโน้ตบนบรรทัด 5 เส้นแบบเบื้องต้นคร่าวๆก่อน เอาแบบว่าไปอ่าน tab หรือโน้ตแล้วก็พอจะเล่นตามได้ ถามว่าการอ่านโน้ตเป็นสำคัญไหม บางคนเล่นดนตรีเก่งแต่อ่านโน้ตดนตรีไม่ได้ก็เยอะนะ ใช้หูทิพย์ล้วนๆ และก็ต้องมีจินตนาการพอสมควร แต่ถ้าอ่านโน้ตได้ก็จะได้ไปอีกขั้นก็โอป่ะ
     อยากให้ดูตัวอย่างเพลงนี้ก่อน ชื่อเพลง ผ่านพ้น เป็นผลงานผมเอง (โฆษณาอีกแล้ว) ไม่ได้เอามาโอ้อวดอะไร แต่จะยกตัวอย่างว่า ถ้าอ่านโน้ตเป็นหรือเขียนโน้ตดนตรีได้ก็มีประโยชน์อยู่บ้าง เพลงนี้แต่งเนื้อร้อง ทำนอง เรียบเรียงเอง แต่จะบอกว่า ดนตรีทั้งหมดที่คุณได้ยิน มันไม่ใช่เครื่องดนตรีจริง เป็นการเขียนโน้ตดนตรีเข้าไปในเครื่องดนตรีแต่ละชนิด ทั้ง กีต้าร์ เบส หรือแม้กระทั่ง กลอง ก็เขียนโน้ตดนตรีลงไป ไม่ใช่การเล่นจริง แต่ถามว่าเล่นจริงได้ไหม ก็เล่นได้แหล่ะ แต่อุปกรณ์มันไม่อำนวยในการอัดเสียงให้มันดูดี ก็เลยต้องเขียนโน้ตลงไป ซึ่งก็ต้องใช้ความรู้ในการเข้าใจเรื่องโน้ตดนตรีด้วย ลองฟังดู


     นี่คือประโยชน์ของการเข้าใจเรื่องการอ่านการเขียนโน้ตดนตรีได้  เรามาเรียนรู้กันเลยว่าวิธีอ่านหรือเขียนเป็นอย่างไรบ้าง
     เริ่มแรกผู้อ่านต้องเข้าใจก่อนว่า ในการอ่านโน้ตดนตรีเราจะใช้เส้นบรรทัดเหมือนบรรทัดตัวหนังสือเพียง 5 เส้นหรือ 5 บรรทัดเป็นตัวหลัก ย้ำว่า เป็นตัวหลักนะครับ ตัวโน้ตอาจจะอยู่ต่ำกว่าบรรทัด 5 เส้นนี้ลงไปอีกสัก 3 -4 บรรทัดก็ได้ แต่เราจะใช้ 5 เส้นนี้ในการอ้างอิง ตัวโน้ต หรือ ดูเสียงสูงต่ำในแต่ละโน้ต เป็นหลัก แบบนี้



รูปภาพจาก www.musicnotes.com

     และตรงหัวบรรทัด 5 เส้นนี้ ที่อยู่ด้านซ้ายสุด จะมีสัญลักม้วนๆ คล้ายๆ ตัว S ที่เป็นตัวเขียนอยู่ เราเรียกว่า กุญแจซอล หรือ G เคลฟ หรือ G Clef เป็นสัญลักษณ์ให้รู้ว่าเป็นคีย์โน้ตปกติหรือระดับกลางในเครื่องดนตรีธรรมดาที่เล่นๆกันนั่นแหล่ะ เอาแบบเข้าใจง่ายๆ ซึ่งสังเกตบนเส้นบรรทัด 5 เส้นตัวสัญลักษณ์ กุญแจซอล นี้ ตรงหัวมันจะอยู่บนบรรทัดของเสียงตัว ซอล พอดี จึงเรียกว่า กุญแจซอล แบบในรูป



รูปภาพจาก www.musicnotes.com

     ส่วนเสียงที่มีลักษณะเป็นเสียงต่ำเช่นเสียงเบส จะใช้สัญลักษณ์ กุญแจฟา หรือ F เคลฟ หรือ F Clef เป็นสัญลักษณ์เป็นหลัก ส่วนใหญ่ถ้ามีการไล่ระดับเสียงลงไปต่ำๆ ก็มักจะเจอเส้นบรรทัด 5 เส้น ที่อยู่ใต้เส้นบรรทัด กุญแจซอล ลงไป มีอีก 5 เส้น ก็คือ กุญแจฟา นี่แหล่ะครับ ตามรูปคือ กุญแจฟา



รูปภาพจาก www.musicnotes.com

   วิธีไล่ระดับเสียง โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด เร มี ..... ต่างๆนั้นก็ให้ดูที่ กุญแจซอล เป็นหลักก่อนนะครับ และวิธีไล่เสียงดูดังนี้ (ไล่เสียงจากเส้นล่างขึ้นบน)
     เส้นที่ 1 เป็นเสียง มี หรือ E
     ช่องว่างระหว่างบรรทัด 1 กับ 2 นับจากล่างขึ้นบนก็คือเสียง ฟา หรือ F
     เส้นที่ 2 ก็คือเสียง ซอล หรือ G
     ช่องว่างระหว่างบรรทัด 2 กับ 3 นับจากล่างขึ้นบนก็คือเสียง ลา หรือ A
     เส้นที่ 3 ก็คือเสียง ที หรือ B
     ช่องว่างระหว่างบรรทัด 3 กับ 4 นับจากล่างขึ้นบนก็คือเสียง โด หรือ C (โด สูงขึ้นมาอีก 1 อ็อกเต็ป)
     เส้นที่ 4  ก็คือเสียง เร หรือ D (เร สูงขึ้นมาอีก 1 อ็อกเต็ป)
     ช่องว่างระหว่างบรรทัด 4 กับ 5 นับจากล่างขึ้นบนก็คือเสียง มี หรือ E (มี สูงขึ้นมาอีก 1 อ็อกเต็ป)
     เส้นที่ 5 ก็คือเสียง ฟา หรือ F (ฟา สูงขึ้นมาอีก 1 อ็อกเต็ป)

     ส่วนใต้บรรทัด 5 เส้นเราก็สามารถไล่โน้ตลงไปต่ำกว่าเสียง มี ได้อีก โดยจะใช้เส้นสั้นๆไม่ต้องเขียนเป็นเส้นยาวเหมือนบรรทัด 5 เส้นให้เกะกะ โดยมีวิธีดูหรือเขียนดังนี้
     ตัวโน้ตที่ชิดของเส้นที่ 1 เป็นเสียง เร หรือ D
     ตัวโน้ตที่ต่ำลงไปไม่ชิดขอบเส้นที่ 1 แต่มีเส้นสั้นๆทับตัวโน้ตนั้นก็คือเสียง โด หรือ C
     ตัวโน้ตที่ต่ำลงไปอีกและอยู่ใต้เส้นสั้นๆนั้นคือเสียง ที หรือ B
     ให้ดูง่ายๆว่าเหมือนมีบรรทัดเพิ่มลงไปข้างล่างอีกแต่ไม่ต้องเขียนเส้นให้ยาวเหมือนบรรทัด 5 เส้น แต่เป็นเส้นแค่สั้นๆ ก็มีหลักการไล่เสียงเหมือนโน้ตที่ไล่บนบรรทัด 5 เส้นนั้นเอง ตามรูป
รูปตัวโน้ตบรรทัด 5 เส้น



 รูปภาพจาก www.musicnotes.com

     แล้วตัวโน้ตแต่ละตัวก็จะมีวิธีเขียนไม่เหมือนกัน โดยดูจากความสั้นหรือยาวของเสียง โดยให้เราอ้างอิงจังหว่ะด้วยการนับ 1,2,3,4 แค่นี้เป็นหลัก หรือเท่ากับ 1 ห้อง โดยจะแบ่งตัวโน้ตเป็น ตัวดำ ตัวขาว และตัวกลม หรือถ้าอินเตอร์กันหน่อยก็จะเรียกว่า quarter note, half note และ whole note โดย โน้ตตัวดำ หรือ quarter note นี้จะถูกแบ่งย่อยออกมาเป็น 4 ตัว หรือ 4 จังหว่ะ ใน 1 ห้อง (1 จังหว่ะ คือ เลขแต่ละตัวในการนับ 1,2,3,4 ซึ่งเลขแต่ละตัวนั่นแหล่ะคือจังหว่ะ เลข 1 ตัว คือ 1 จังหว่ะ)โน้ตตัวขาว หรือ half note นี้จะถูกแบ่งย่อยออกมาเป็น 2 ตัว หรือ 2 จังหว่ะ ใน 1ห้อง ส่วน โน้ตตัวกลม หรือ whole note คือ 1 จังหว่ะเต็มห้อง (แปลว่า โน้ตตัวกลม ในการดีดกีต้าร์ 1 ครั้งแล้วค้างจังหว่ะรากยาวพร้อมกับนับไปด้วย 1,2,3,4 ครบ 1 ห้องก็จะเท่ากับความยาวเสียงตัวกลม)
    อาจจะงงนิดหน่อยสำหรับคนใหม่นะครับ ให้ดูเวลานับ 1,2,3,4 ใน 1 ห้องเป็นหลักนะครับ แล้วก็ลองดีดกีต้าร์เอาแค่เส้นเดียวจะใช้ตัวโน้ตอะไรก็ได้ ให้ดีดโดยดีดลงอย่างเดียว ตามคำที่มีคำว่าา ดีด นะครับแล้วตบเท้าซ้ายกับพื้นตามจังหว่ะที่ดีดลงไปด้วย จะเข้าใจมากขึ้น
     โน้ตตัวดำ
      1           2          3           4         ครบ 1 ห้อง
     ดีด       ดีด        ดีด        ดีด

     โน้ตตัวขาว (ช่องว่างที่เว้นไว้ปล่อยเสียงลากยาวไปเลยครับ)
      1            2          3          4          ครบ 1 ห้อง
      ดีด                    ดีด    

โน้ตตัวกลม (ช่องว่างที่เว้นไว้ปล่อยเสียงลากยาวไปเลยครับ)
      1            2           3         4           ครบ 1 ห้อง
     ดีด                                    

หรือดูรูปนี้ประกออบความเข้าใจไปด้วยนะครับ



 รูปภาพจาก www.musicnotes.com

     เป็นไงบ้างครับ พอจะอ่านตัวโน้ตออกกันบ้างหรือยังครับ เวลาเราดีดเอาเท้าตบกับพื้นตามจังหว่ะการนับ 1,2,3,4 อาจจะใช้ เมโทรนอม มากำกับจังหว่ะการนับไปด้วยก็ดีครับ จะทำให้แม่นเรื่องจังหว่ะมากขึ้น วันนี้ก็เอาแค่พอสังเขปแค่นี้ก่อนนะครับ แล้วเดี๋ยวครั้งต่อไปค่อยมาเจาะลึกเรื่องการอ่านโน้ตกันต่อครับ ค่อยๆฝึกไปทีละนิดครับ ให้นึกว่า เส้นทางที่เราเดินอยู่ นักดนตรีเก่งๆเขาก็เคยผ่านมาก่อนครับ ไม่ได้แตกต่างกันเลย สวัสดีครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การอ่านโน้ตดนตรี ตัวเขบ็จ และเครื่องหมายหยุด

     จากบทความที่แล้วผมได้มาแบ่งปันเรื่องการอ่านบันทัด 5 เส้น การอ่านเสียง โด เร มี ฟา ซอล ลา ที บนบันทัด 5 เส้น และความยาวของ...