วันจันทร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2561

รู้ตัวโน้ตในคอร์ดต่างๆ แล้วช่วยอะไร



     จากตอนที่แล้วผมก็ได้มาบอกกล่าว (อย่าเรียกว่าสอนเลย แค่มาแบ่งปันสิ่งที่รู้มาด้วยการศึกษาเอง) เรื่อง โน้ตในคอร์ดเมเจอร์ และ โน้ตในคอร์ดไมเนอร์ ว่ามีวิธีหาตัวโน้ตหลักในคอร์ดอย่างไหร และ มีวิธีหาตัวโน้ตในคอร์ดอย่างไร ถามว่า ต้องรู้ไหม ! ก็ตอบว่า ถ้าซื้อหนังสือเพลงมีตีคอร์ดแล้วร้องเพลงเล่นไปเรื่อยๆ ก็ไม่ต้องรู้ก็ได้เพราะก็ในหนังสือเพลงก็มีคอร์ดให้เล่น ตารางคอร์ดเพลงก็ซื้อมาแปะผนังห้องแล้ว รู้แล้วว่าคอร์ดนี้จับอย่างไรแค่นี้ก็พอ แต่ถ้าอยาก advance กว่านั้น คือ อยากโซโล่ในท่อนโซโล่เวลาเล่นกีต้าร์ 2 ตัวกับเพื่อน หรือ เบื่อคอร์ดเดิมๆที่เคยจับ เราอาจจะหาตำแหน่งการจับคอร์ดใหม่ๆให้เสียงแปลกไปจากเดิมก็สามารถทำได้

     แล้ว โน้ตในคอร์ดกีต้าร์ มันช่วยเรื่องการโซโล่ได้อย่างไร มันก็ช่วยเวลาที่เราอยากโซโล่สดๆ หรือ improvise แล้วเราดีดตัวโน้ตที่ผ่านโน้ตในคอร์ดมันจะทำให้การเพี้ยนหรือผิดคีย์น้อยลงเวลาเล่นเพลงที่อยู่ในคอร์ดนั้นๆ (ลองให้เพื่อนตีคอร์ด C แล้วเราลองดีดตัวโน้ต C,E,G ทีละตัว ในทุกๆตำแหน่งบนคอกีต้าร์แล้วฟังเสียงดูสิ เสียงมันเข้ากันได้ดีเลยทีเดียวเลยใช่ไหม) หรือว่าการหาตำแหน่งคอร์ดใหม่ๆเพื่อให้เสียงแตกต่างจากเดิม ยกตัวอย่าง คอร์ด C
     คุณอาจจะจับ คอร์ด C ได้หลายแบบตามรูปนี้ เพราะในรูปทุกตำแหน่งเมื่อดีดพร้อมกันจะเป็น คอร์ด C ซึ่งก็ประกอบไปด้วยตัวโน้ต C,E,G เหมือนกัน แต่อยู่คนละตำแหน่งกัน หรือมี อ็อกเต็ป ที่ต่างกันแค่นั้นเอง หรือคุณอาจจะหาตำแหน่งอื่นเพิ่มเติมไปอีกนอกจากรูปนี้ก็ได้นะ ขอเพียงมีตัวโน้ต C,E,G ผสมกันอยู่ในการดีดแต่ละครั้งแค่นั้นเอง คอร์ดอื่นๆก็เหมือนกัน

































ภาพจากเว็บ www.guitarchordsworld.com

     ความรู้เรื่อง ตัวโน้ตในคอร์ด นี้คุณสามารถเอาไปใช้อย่างอื่นได้อีก เช่น การเล่นกีต้าร์เบส ในการเดินเบสเพลงต่างๆ ก็ใช้ลูกเล่นแบบนี้ด้วยเช่นกันคือเดินเบสให้อยู่ในกลุ่มโน้ตในคอร์ดนั้นๆ หรือการเล่นเปียโน หรือคีย์บอร์ด แม้กระทั่ง การร้องประสานเสียง เพื่อให้เสียงทั้งหมดกลมกลืนกันก็ใช้หลักนี้เช่นเดียวกัน
     เห็นไหมหล่ะครับ มันมีประโยชน์จริงๆนะ ทีนี้การบ้านที่อยากให้ลองฝึกดูก็คือ ลองเอาหนังสือเพลงที่คุณซื้อมาเล่นนั่นแหล่ะ ลองเอาเพลงที่เคยเล่นอาจจะเป็นคอร์ดง่ายๆก็ได้ ไม่ต้องยาก แต่ให้เปลี่ยนตำแหน่งจากที่เคยจับแบบเดิม หาตำแหน่งใหม่แล้วเล่นดู แล้วลองฟังดู บางตำแหน่งอารมณ์เพลงมันจะเปลี่ยนไปเลยนะครับ แค่ใช้คอร์ดเดิมแต่เปลี่ยนตำแหน่งการจับคอร์ดแค่นั้นเอง   แล้วเดี๋ยวครั้งหน้าเราจะมาเรียนรู้วิธีอ่านตัวโน้ตบนบรรทัด 5 เส้นกัน ดูว่าโน้ตตัวนี้คืออะไร เสียงมันยาวแค่ไหน แล้วต้องหยุดตรงไหนเวลาเล่น หลายๆคนอาจจะอยากอ่านโน้ตเป็น ไปซื้อตำรามาอ่านอาจจะงง ผมก็จะมาอธิบายแบบง่ายๆให้ฟัง แต่ก็ต้องศึกษาเพิ่มเติมนะครับ ผมแค่มาสรุปให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
     และที่สำคัญในการเล่นดนตรี ไม่ว่าจะเล่นเครื่องดนตรีอะไรก็แล้วแต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ จังหว่ะ ซึ่งเปรียบเสมือน กระดูกสันหลังของเพลงหรือดนตรีนั้นๆเลย ควรหัดเล่นให้ตรงจังหว่ะและแม่นจังหว่ะ ไม่ช้าหรือเร็วเกินไป เพราะวันนึงเมื่อคุณฝึกได้ระดับนึงคงจะไม่คิดนั่นเล่นคนเดียวไปตลอดชีวิตใช่ไหมครับ อาจจะต้องร่วมเล่นกับเพื่อนๆหรือเล่นกับเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆก็ต้องเล่นให้เข้าจังหว่ะกัน โดยจะต้องหัดเป็นผู้ฟังที่ดีด้วย ไม่ใช่เล่นไม่ฟังใคร แถวบ้านเขาเรียก "ลุยถั่ว" คือเล่นมันอยู่คนเดียวไม่ฟังเพื่อนๆเลยว่าเล่นอะไร ดังนั้นต้องฝึกให้เข้ากับจังหว่ะ โดยการไปหาซื้อ "เมโทรนอม" (Metronome) ตามร้านเครื่องดนตรี หรือหาซื้อได้จากอินเตอร์เน็ตก็ได้ครับ




     ให้เอามาหัดฝึกจังหว่ะให้ตรงเสียง ติ๊ก ของเมโทรนอม โดยมีความเร็ว Beat ต่างๆให้ฝึก ทั้งเร็วและช้า โดยอาจจะเริ่มฝึกด้วยการดีดตัวโน้ต โด เร มี ฟา ซอล ลา ที บนคอกีต้าร์ของคุณให้ลงจังหว่ะก่อนก็ได้ แล้วก็ดีดถอยกลับด้วยเป็น ที ลา ซอล ฟา มี เร โด อาจจะเริ่มดีดกลับไปกลับมาหลายๆรอบ ในแต่ละจังหว่ะให้ตรง จะดีมากครับ ลองไปฝึกดู แล้วคราวหน้าจะมาฝึกอ่านตัวโน้ตบนบรรทัด 5 เส้นกัน เผื่อไปเจอหนังสือที่บอก tab กีต้าร์หรือโน้ตต่างๆ จะได้เล่นได้ แล้วเจอกันนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การอ่านโน้ตดนตรี ตัวเขบ็จ และเครื่องหมายหยุด

     จากบทความที่แล้วผมได้มาแบ่งปันเรื่องการอ่านบันทัด 5 เส้น การอ่านเสียง โด เร มี ฟา ซอล ลา ที บนบันทัด 5 เส้น และความยาวของ...