วันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

การอ่านโน้ตดนตรี ตัวเขบ็จ และเครื่องหมายหยุด



     จากบทความที่แล้วผมได้มาแบ่งปันเรื่องการอ่านบันทัด 5 เส้น การอ่านเสียง โด เร มี ฟา ซอล ลา ที บนบันทัด 5 เส้น และความยาวของเสียงของ โน้ตตัวดำ โน้ตตัวขาว โน้ตตัวกลม โดยการนับจังหว่ะ 1,2,3,4 โดยผู้ฝึกฝนอาจจะนับด้วยปากไปด้วยและใช้เท้าตบพื้นไปด้วยก็ได้ โดยอย่าลืมว่า 1 ห้อง มี 4 จังหว่ะ ให้จำแบบนี้ไปก่อน เพราะจริงๆแล้วอาจจะแบ่งจังหว่ะในเพลงนั้นๆไม่เหมือนกัน โดยเราอาจจะเคยเห็นตัวเลขคล้ายๆ เศษส่วนอยู่หน้าห้องโน้ตดนตรีติดกับ สัญลักษณ์กุญแจซอล ซึ่งเรียกว่า เครื่องหมายกำหนดจังหว่ะ หรือ time signature ตามารูปนี้





ภาพจาก recorderthai.weebly.com

     ซึ่งส่วนใหญ่จะเจอ 4 กับ 4 เป็นหลัก โดยเลขตัวล่างคือสัญลักษณ์ตัวโน้ต คือ เลข 2=ตัวขาว เลข 4=ตัวดำ เลข 8=ตัวเขบ็ตหนึ่งชั้น เลข 16=ตัวเขบ็ตสองชั้น ดังนั้น ตามภาพแรก ตัวเลข 4 ข้างล่างก็คือ โน้ตตัวดำ ส่วนเลข 4 ข้างบนก็คือ จำนวนตัวโน้ตในแต่ละห้องว่ามีกีต้ว ดังนั้น รูปแรกที่เป็น 4 กับ 4 (มักจะเรียกว่า สี่สี่) ก็คือ เพลงที่กำหนดทั้งหมดในห้องต่างๆนี้ จะถูกกำหนดด้วย time signature ให้มี โน้ตตัวดำได้สูงสุด 4 ตัว แต่เราใส่โน้ตตัวอื่นเข้าไปด้วยก็ได้แต่จะแบ่งตามสัดส่วนจาก โน้ตตัวดำ ใน 1 ห้องคือ 4 ตัวสูงสุด เราอาจจะให้ห้องนั้นเป็นโน้ตตัวขาวได้แต่สูงสุดก็ 2 ตัว หรือเป็นโน้ตตัวกลม 1 ตัว หรือเป็นตัวเขบ็จยังไงก็ได้โดยอ้างอิงจาก โน้ตตัวดำ เป็นหลัก หรืออย่างในรูปจะมี 2/2 ก็คือ ให้ห้องนั้นมี โน้ตตัวขาว ได้สูงสุด 2 ตัว หรืออย่างกับ 2/4 ก็จะมี โน้ตตัวดำ ได้สูงสุด 2 ตัว หรือ 3/4 ก็จะมี โน้ตตัวดำ ได้สูงสุดในห้องนั้น 3 ตัว เป็นต้น แต่ตอนนี้จำแค่แบบ 4/4 ไปก่อน คือ ใน 1 ห้องมี โน้ตตัวดำ ได้สูงสุด 4 ตัว ก็คือนับจังหว่ะปกติ 1,2,3,4
     บทความก่อนหน้านี้เราได้มาแบ่งปันเรื่องการดูความสั้นยาวของตัวโน้ตแต่ละตัวไปแล้ว ก็จะมี โน้ตตัวดำ โน้ตตัวขาว โน้ตตัวกลม เราก็พอจะนับเป็นกันบ้างแล้ว (หรือเปล่า ไปอ่านย้อนดูได้เรื่อง วิธีการอ่านโน้ตดนตรี ) ทีนี้เราจะมาเจาะลึกลงไปอีกก็คือ ตัวเขบ็จ ก็จะแบ่งเป็น โน้ตตัวเขบ็จหนึ่งชั้น (Eighth Note) และ โน้ตตัวเขบ็จสองชั้น (Sixteenth Note) จะแบ่งอีกเป็น โน้ตตัวเขบ็จสามชั้น ก็ได้อีกนะ แต่อันนั้นมันก็ เร็วเกิ๊น ก็เอาแค่ 2 อย่างนี้ก่อน แต่หลักการแบ่งก็จะเหมือนกันครับ
     ลักษณะของตัวโน้ต 2 ตัวนี้ก็จะแบ่งย่อยลงมาจาก โน้ตตัวดำ โดย โน้ตตัวเขบ็จหนึ่งชั้น (Eighth Note) ก็จะมีความยาวเสียงครึ่งหนึ่งของ โน้ตตัวดำ ส่วน โน้ตตัวเขบ็จสองชั้น (Sixteenth Note) ก็จะมีความยาวเสียงเป็น 1/4 ของ โน้ตตัวดำ หรือครึ่งหนึ่งของ โน้ตตัวเขบ็จหนึ่งชั้น (Eighth Note) นั่นเอง โดยจะมีสัญลักษณ์แบบนี้



     ดังนั้น เราก็พอจะสรุปความยาวหรือสัดส่วนตัวโน้ตต่างๆ ได้ตามรูปนี้



ภาพจาก recorderthai.weebly.com

     แล้ววิธีนับจังหว่ะ โน้ตตัวเขบ็จ ได้อย่างไร ก็คือเราเคยสอนการนับไปแล้วโดยเรานับจังหว่ะใน 1 ห้องก็คือ 1,2,3,4 ถ้าเรานับจังหว่ะโดยใช้ โน้ตตัวดำ ก็จะได้แบบนี้ (ดีดกีต้าร์ตามไปด้วยก็ดี ให้ดีดลงอย่างเดียว)
      1               2                3                4           ครบ 1 ห้อง
   ดีดลง       ดีดลง        ดีดลง        ดีดลง

     ถ้าเรานับจังหว่ะโดยสมมุติว่าในห้องดนตรีนั้นมี โน้ตตัวเขบ็จหนึ่งชั้น (Eighth Note) เต็ม 1 ห้อง (เพื่อความง่ายในการทำความเข้าใจ) โดยให้นับหลักการแบบเดิม แต่ระหว่างตัวเลขให้เพิ่มคำว่า และ เข้าไป ถ้าดีดกีต้าร์ในจังหว่ะที่ตรงกับคำว่า และ ให้ดีดขึ้น พร้อมกับตบเท้าโดยใช้แค่ปลายเท้าตบลงส่วนส้นเท้าติดพื้นไว้ ให้ตบลงเมื่อตรงจังหว่ะ 1,2,3,4 ตรงนี้จะเรียกว่า จังหว่ะตก และให้ยกปลายเท้าขึ้นเตรียมพร้อมที่จะตบอีกโดยจังหว่ะยกเท้านี้จะตรงกับคำว่า และ ซึ่งจังหว่ะที่ยกเท้าขึ้นนี้เรียกว่า จังหว่ะ ยกแบบนี้
      1            และ           2        และ          3           และ             4             และ     ครบ 1 ห้อง
   ดีดลง      ดีดขึ้น     ดีดลง    ดีดขึ้น    ดีดลง    ดีดขึ้น         ดีดลง      ดีดขึ้น
   ตบเท้า   ยกเท้า   ตบเท้า  ยกเท้า  ตบเท้า  ยกเท้า      ตบเท้า   ยกเท้า

     ส่วน โน้ตตัวเขบ็จสองชั้น (Sixteenth Note) ก็ให้ใช้หลักการนับแบบเดียวกับการนับ โน้ตตัวเขบ็จหนึ่งชั้น (Eighth Note) แต่ให้เพิ่มคำว่า ละ เข้าไปตรงระหว่างตัวเลขแต่ละตัวกับคำว่า และ พร้อมกับดีดกีต้าร์โน้ตตัวไหนก็ได้เอาเสียงเดียวก็พอ ให้ดีดลงตรงที่มีจังหว่ะการนับตรงกับตัวเลข 1,2,3,4 กับคำว่า และ ถ้าดีดขึ้นเมื่อการนับจังหว่ะตรงกับคำว่า ละ พร้อมกับตบเท้าตามจังหว่ะไปด้วยซึ่งการตบเท้านี้ให้ตบเท้าลงเมื่อนับตรงกับตัวเลข 1,2,3,4 และยกเท้าขึ้นจะตรงกับคำว่า และ ซึ่งจังหว่ะที่ตรงกับตัวเลข 1,2,3,4 นี้เรียกว่า จังหว่ะตก ส่วนในขณะที่เท้าเรายกขึ้นเรียกว่า จังหว่่ะยก ตามแบบนี้
1    ละ   และ  ละ   2     ละ  และ  ละ   3   ละ  และ  ละ   4    ละ   และ    ละ   ครบ 1 ห้อง
ลง  ขึ้น   ลง   ขึ้น  ลง   ขึ้น  ลง   ขึ้น ลง  ขึ้น  ลง  ขึ้น   ลง ขึ้น    ลง     ขึ้น
ตบเท้า ยกเท้า  ตบเท้า  ยกเท้า  ตบเท้า  ยกเท้า  ตบเท้า   ยกเท้า

     โดยการนับนี้ความเร็วยังคงเท่าเดิมจากที่เรานับ 1,2,3,4 เพียงแค่ระหว่างตัวเลขให้เพิ่มตัวโน้ตลงไปเป็น ตัวเขบ็จ ทำให้ความถี่ในการดีด ถี่ขึ้นด้วยการดีด ขึ้นและลง นั่นเอง โดยใช้ เมโทรนอม ช่วยนับจังหว่ะให้ก็จะดีมาก บางคนถามว่า อ่านบางตำราเขานับกันแบบ one , two , three  , four  หรือถ้ามีตัวเขบ็จหนึ่งชั้นเข้าจะนับแบบ one and two and three and four หรือเขบ็จสองชั้นนับแบบ one a  and a two a  and a three a  and a four แบบนี้ควรยึดแบบไหน ก็ขอตอบว่าจะยึดแบบไหนก็ได้ คุณจะนับแบบ เจ็ก  หนอ ซา  สี่ หรือตัวเขบ็จ เจ็ก แอนด์ จีน แอนด์ ฝรั่ง แอนด์ นิโกร อะไรก็ได้ แค่ยึดหลักว่า แบ่งสัดส่วนในอัตราที่เท่าๆกันก็พอ เข้าใจ บ่
     และในการเล่นดนตรี ถ้าดีดกีต้าร์ หรือเป่าแตร เล่นคีย์บอร์ดอะไรก็แล้วแต่ ถ้าลากเสียงยาวๆๆๆๆๆๆ ไปอย่างเดียวไม่พักหายใจกันบ้างมันก็ไม่มีสีสันเท่าไหร่ เขาจึงกำหนด เครื่องหมายหยุด เพื่อได้หายใจหายคอกันบ้าง ให้มันดูมีสีสันต์มีความน่าสนใจ  และน่าฟังยิ่งขึ้น โดยตัวหยุดเสียงคือไม่ต้องให้มีเสียงเลย ก็จะมีความยาวของมันอยู่ จะแบ่งเป็นสัญลักษณ์ของการหยุดโน้ตในความยาวของตัวโน้ตต่างๆ ดังนี้



ภาพจาก www.sts.ac.th

     การหยุดก็นับจังหว่ะเหมือนเรานับจังหว่ะโน้ตตัวนั้นแต่ไม่ต้องทำเสียงใดๆออกมาแค่นั้นเอง เช่น เครื่องหมายหยุดโน้ตตัวกลม เราก็เงียบเสียงเครื่องดนตรีที่เราเล่น แล้วก็นับไป 1,2,3,4 พอเข้าห้องใหม่มีโน้ตตัวไหนโผล่ขึ้นมาก็เล่นตัวนั้นต่อ แค่นั้นเอง
วันนี้ก็เอาพอแค่นี้ก่อนนะครับ พอจะ มีแนว ! กันบ้างหรือยัง แล้วเดี๋ยววันหลักเรามาแบ่งปันกันใหม่นะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การอ่านโน้ตดนตรี ตัวเขบ็จ และเครื่องหมายหยุด

     จากบทความที่แล้วผมได้มาแบ่งปันเรื่องการอ่านบันทัด 5 เส้น การอ่านเสียง โด เร มี ฟา ซอล ลา ที บนบันทัด 5 เส้น และความยาวของ...