วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2561

อยากเล่นดนตรีเก่ง ต้องรู้เรื่องอะไรบ้าง ? ตอนที่ 3



     จากตอนที่แล้วผู้เขียนได้เขียนอธิบายวิธีฝึก กีต้าร์โปร่ง หรือกีต้าร์ไม่โปร่ง ไปเบื้องต้นแล้ว โดยให้ฝึกคอร์ดกีต้าร์หลักๆให้คล่องก่อน แต่ถ้าไปเจอหนังสือเพลงที่มันมีเพลงที่มีคอร์ดอย่างนี้ Aadd9 ทำไง ก็จับแค่ A ไปก่อนก็ไม่ผิดนะ แค่รายละเอียดของเสียงมันไม่ครบเป๊ะๆอย่างที่ผู้ประพันธ์เพลงเขาต้องการแค่นั้นเอง แต่ถ้าอยากเก่งเร็วๆ ไม่อยากช้า ก็จับไปเลยได้ครับ ตารางคอร์ดมีบอกหมดครับ ก็อธิบายนิดนึงว่าคอร์ดนี้ก็แค่เพิ่มตัวที่ 9 ของตัวโน้ตเข้ามาแค่นั้นเอง (มันคืออะไรวะ โน้ตตัวที่ 9) ก็บอกแล้วไงให้จับๆไปก่อนครับ ตามนั้น
     แต่ก็จะขอย้อนไปอีกนิดนึง เผื่อใครที่อยากหัดเล่น กีต้าร์โปร่ง แต่อาจจะยังไม่ได้ซื้อมาหัดเล่น หรือยืมเพื่อนเล่น หรือขโมยข้างบ้านมาก็แล้วแต่ แต่อยากจะซื้อ กีต้าร์โปร่ง ดีๆสักตัว เอาไว้เล่นแบบยาวๆ ให้มันดีทีเดียวไปเลย เผื่อวันนึงพี่ตูนวิ่งผ่านหน้าบ้านจะได้เอาไปให้เซ็นต์ชื่อเก็บไว้เป็นที่ระลึก (ว่าไปนั่น เค้าวิ่งไปถึงแม่สายตั้งนานแล้ว) หรือบางคนก็อยากเล่นให้เสียงมันดีๆไปเลย ต้องดูยังไง

     การที่จะดูว่ากีต้าร์ตัวไหนคุณภาพดีนั้นมีสิ่งที่จะต้องพิจารณาหลายอย่างด้วยกัน คือ
     1. เสียงกีต้าร์ที่ดี จะต้องมีองค์ประกอบของเสียงที่ดีได้แก่ กังวาล สดใส สามารถฟังได้ในระยะไกลพอสมควร มีความชัดเจน เสียงจะไม่พร่ามัว เมื่อเล่นหลายเสียงพร้อมกันหรือในขณะที่เล่นคอร์ด มีน้ำหนักเสียงดี ดีดเพียงเบาๆ ก็จะดังได้ยินชัดเจน เมื่อเราใส่ลูกเล่นให้นุ่มนวลก็จะให้เสียงไพเราะนุ่มนวล มีความกลมกลืน เสียงที่ดังออกมาจากทุกสายจะต้องมีน้ำหนักเสียงและความไวสม่ำเสมอเท่ากัน เสียงไม่เพี้ยนไม่ว่าจะเล่นอยู่ ณ ที่ตำแหน่งใด

     2. รูปร่าง กีต้าร์ที่ดีจะต้องรูปร่างดี สีสวย ลายไม้สวยงาม ไม่มีตำหนิ ตกแต่งเรียบร้อยและประณีต

     3. ความเหมาะมือ คือสามารถเล่นได้สะดวก ไม่เปลืองแรงนิ้วที่กดลงไป การเปลี่ยนตำแหน่งมือซ้ายไม่ว่าจะอยู่ตำแหน่งใด จะต้องสะดวก และสามารถทำเสียงในการเปลี่ยนตำแหน่งการจับคอร์ดมีความต่อเนื่องของเสียง ไม่ขาดตอน กีต้าร์ที่ดีจะต้องออกแบบให้ได้ขนาดมาตรฐานและต้องคำนึงถึงลักษณะกายวิภาคของมนุษย์ด้วย ทั้งยังสามารถเล่นได้นานๆ โดยไม่เมื่อยมือหรือข้อมือไม่ล้า ช่วงระยะระหว่างสายกับสะพานสายจะต้องไม่ห่างมากหรือใกล้มาก ควรขนานกันอยู่ในระดับพอดี เอที่จะช่วยลดกำลังของนิ้วที่กดลงไป โดยไม่ต้องใช้น้ำหนักในการกดมาก

     4. ความคงทน กีต้าร์ที่มีคุณภาพคงทนนั้น ส่วนประกอบทั้งหมดของกีต้าร์ ไม่ว่าจะเป็น คอ หัว ลูกบิด ข้อต่อ สะพานสาย ไม้ประกอบด้านหน้า ด้านข้าง ด้านหลัง ฯลฯ จะต้องเลือกวัสดุที่มีคุณภาพที่ดีที่สุดมาสร้าง โดยเฉพาะไม้ที่จะนำมาสร้างกีต้าร์แต่ละชนิดนั้นจะต้องเลือกไม้ที่มีคุณภาพเหมาะกับแต่ละชนิดของกีต้าร์ด้วย มีความคงทนไม่แตกง่าย ไม่งอและไม่บิดเบี้ยว เนื้อไม้ด้านหน้า ควรเลือกลายไม้ที่ละเอียดและลายขนานกัน ยิ่งลายถี่มากยิ่งดี (แสดงว่าเป็นไม้ที่มีอายุมากมีความคงทนกว่า) สังเกตุดูอย่าให้มีลายขวางหรือมีตาไม้ขึ้นมาแทรกเพราะเสียงจะด้อยลง

     5. ผู้ผลิต กีต้าร์ที่ดีนั้นมักจะสร้างด้วยช่างฝีมือที่ได้รับการศึกษาและมีประสบการณ์ ในด้านนี้โดยเฉพาะรู้จักเทคนิคอย่างละเอียดลึกซึ้ง มีความสามารถสูง รู้กรรมวิธีในการประกอบกีต้าร์อย่างดี มีความสามารถด้านการคัดเลือกวัสดุที่มาประกอบเป็นตัวกีต้าร์ มีความสามารถในการอบไม้ให้แห้งจนสามารถได้ไม้ที่มีคุณภาพดี เป็นช่างฝีมือที่มีความละเอียด ประณีต

สำหรับ กีต้าร์โปร่ง ที่มีเสียงดี ที่มีหลายยี่ห้อ ที่เป็นที่นิยมกัน ก็มีดังนี้

















     นี่ก็คือ ยี่ห้อ กีต้าร์โปร่ง ที่เป็นที่นิยมกัน ก็ลองเลือกดูลักษณะ รูปลักษณ์ และงบในกระเป๋าที่ชอบดูละกัน เป็นแค่คำแนะนำส่วนหนึ่ง ส่วนจะเลือกซื้อแบบไหนก็แล้วแต่ผู้เล่นจะชอบ
     ถ้าตอนนี้ผู้อ่านฝึกเล่นคอร์ดต่างๆที่แนะนำไปในตอนที่ 2 จนคล่องแล้ว ตอนหน้าจะมาสอนเรื่องอื่นที่ต้องใช้ในการเล่น กีต้าร์โปร่ง กันต่อนะครับ ส่วนคนที่อาจจะอยากเล่นเครื่องดนตรีอื่น เช่น กลอง เบส เปียโน ฯลฯ เอาไว้จะค่อยๆมาบอกกล่าวกันทีหลังนะครับ ผู้เขียนก็ไม่ได้เล่นเก่งอะไรมาก แค่มีวิธีคิด วิธีฝึกที่อาจจะฟังเข้าใจได้ง่ายกว่าตำราที่หลายคนอาจจะซื้อมาอ่าน เพราะผู้เขียนก็เคยซื้อมาอ่านเพื่อศึกษาการเล่นดนตรีเอง เข้าใจดีครับว่ามัน งง เวลาอ่าน เพราะบางทีก็ใช้คำวิชาการเกินไปจนอ่านแล้วปวดหัว หรือไม่ก็น่าเบื่อจนไม่อยากอ่านต่อ แล้วก็เอาตำรานั้นวางไว้บนหัวนอนหวังว่าวันหนึ่งความรู้ในการเล่นดนตรีบนหัวนอนมันจะวิ่งเข้ามาในหัวตอนนอนหลับ แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่ ก็จะเอามาสอนเป็นภาษาง่ายๆ ให้เข้าใจกันแบบบ้านๆน่าจะดีกว่าครับ แล้วเจอกันใหม่ตอนหน้านะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โหมด และ สเกล ทางดนตรี: คู่มือเบื้องต้นสำหรับนักดนตรี

  โหมดและสเกล: พื้นฐานสำคัญของการสร้างสรรค์ดนตรี      สำหรับนักดนตรีทุกคน ไม่ว่าจะเป็นมืออาชีพหรือผู้ที่เพิ่งเริ่มต้น การทำความเข้าใจ โหมด (...